๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒

คำตรัสของพระพุทธเจ้า "หูเบา"

บุคคลไม่ควรพยายามเสียทุกสิ่งทุกอย่าง ควรเป็นตัวของตัวเอง ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ และไม่พึงมีแผลประพฤติธรรม บุคคลชื่อว่า เป็นคนดีด้วยเหตุเพียงรูปร่าง ผิวพรรณก็หามิได้ ไม่ควรไว้ใจคนที่เห็นเพียงครู่เดียว คนชั่วเป็นอันมากเที่ยวไปด้วยรูปลักษณะแห่งคนดี เหมือนหม้อดินและหม้อโลหะ ซึ่งฉาบไว้ด้วยสุวรรณ มองแวววาวแต่เพียงภายนอก แต่ภายในไม่สะอาด คนชั่วในโลกนี้ เมื่อบริวารแวดล้อมแล้ว ก็เที่ยวไปได้อย่างคนดี เขางามแต่ภายนอกแต่ภายในไม่บริสุทธิ์

เหตุแห่งคำดำรัส : พระเจ้าปเสนทิโกศล
เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกสล กล่าวสรรเสริญพระพุทธองค์ว่าเป็น "สัพพัญญู" รู้แจ้งแทงตลอดโดยแท้ ณ ที่ประตูวัดบุพพาราม พระพุทธองค์ก็เปล่งคำตรัสออกมาดังกล่าว เพื่อเตือนสติพระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้เป็นคนเบาปัญญา และหูเบา เชื่อคนรอบข้างโดยง่าย จนเกิดเหตุโศกนาฏกรรมที่พระองค์วางแผนลอบฆ่าพันธุลเสนา ผู้เป็นทั้งพระสหายผู้เก่งกล้า และสวามิภักดิ์ต่อพระองค์อย่างถึงที่สุด พร้อมด้วยลูกชายทั้งสิ้น ๓๒ คน เพราะเชื่อเสนาบดีรอบข้างที่ริษยาพันธุลเสนา ยุแหย่ใส่ร้ายว่าจะชิงบัลลังก์นั่นเอง พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรอมใจ ไร้สุขเป็นทุกข์ตลอดเวลา เมื่อทราบความจริงทั้งหมด

นางมัลลิกา ชาวกุสินารา คือภรรยาของพันธุละ เป็นพุทธมามกะทีที่เคร่งในพระธรรมวินัยอย่างยิ่ง นางเป็นผู้หนึ่งในสามคนที่มีเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมดเพียง ๓ คนเท่านั้น คือ นางมัลลิกา นางวิสาขา และนางเศรษฐิธิดา ผู้เป็นภริยาแห่งเทวปานิยสารคฤหบดี เมืองพาราณสี และนางนี้แหละเป็นผู้ถวายเครื่องมหาลดาปสาธน์คลุมพระบรมศพของพระพุทธเจ้า


จากหนังสือ คำตรัสของพระพุทธเจ้า เหตุแห่งคำดำรัส หน้า ๖๓
.
.

ไม่มีความคิดเห็น: